เลขาฯ ศอ.บต. รับฟังเสียสะท้อนจากชาวบ้านชุมชนเกาะยาว อ.ตากใบ จ.นราธิวาส หลังประสบปัญหาช่วงหน้ามรสุม พร้อม!!! เชิญชวนนักท่องเที่ยว ชมแสงแรกต้นฤดูหนาว..ใต้สุดแดนสยามห้วงปีใหม่นี้








เลขาฯ ศอ.บต. รับฟังเสียสะท้อนจากชาวบ้านชุมชนเกาะยาว อ.ตากใบ จ.นราธิวาส หลังประสบปัญหาช่วงหน้ามรสุม พร้อม!!! เชิญชวนนักท่องเที่ยว ชมแสงแรกต้นฤดูหนาว..ใต้สุดแดนสยามห้วงปีใหม่นี้

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พร้อมด้วยนางสุนิสา รามแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. (กรมประชาสัมพันธ์) ลงพื้นที่รับฟังปัญหา       และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ชุมชนบ้านเกาะยาว ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นชุมชนประมงพื้นบ้านบนเกาะเล็กๆ ที่เชื่อมกับแผ่นดินใหญ่ใต้สุดแดนสยาม มีประชาชนอาศัยอยู่กว่า 100 ครัวเรือน  ประชากรจำนวน 600 คน เพื่อเตรียมส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวและยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนในพื้นที่

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า พื้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่ที่มีเสน่ห์และอัตลักษณ์ที่หลากหลายเฉพาะตัวทั้งด้านสังคมพหุวัฒนธรรมมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ที่มีเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของไทยคือวัดชลธาราสิงเห หรือวัดพิทักษ์แผ่นดินไทย ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ มีพิพิธภัณฑ์     ที่สะท้อนถึงร่องรอยทางประวัติศาสตร์สำคัญด้วย อีกทั้งอำเภอตากใบยังมีสะพานคอย 100 ปี ที่เมื่อข้ามมาแล้วจะพบชุมชนบนเกาะที่เรียกว่าบ้านเกาะยาวเป็นพื้นที่เล็กๆ ที่มีอัตลักษณะเฉพาะตัวมีธงชาติไทยเป็นสัญลักษณ์ของความ       เป็นไทยที่ปักอยู่ตรงกลางของเกาะซึ่งสื่อให้เห็นถึงว่าที่นี่คือพื้นที่สุดท้ายของผืนแผ่นดินไทยที่มีความสำคัญมาก       เนื่องจากในช่วงต้นฤดูหนาวของวันขึ้นปีใหม่แกนโลกจะเอียงไปทางขวามากที่สุดในรอบปี จนทำให้เกิดเป็นปรากฎการณ์แสงแรกของพระอาทิตย์ที่ขึ้นที่นี่เป็นที่แรกของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีผืนทรายผืนสุดท้ายซึ่งเป็นทะเล           ฝั่งอ่าวไทยในพื้นที่ภาคใต้ของไทยด้วย ห่างออกไปอีก 2 กิโลเมตรนั่นคือปากอ่าวตากใบซึ่งเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์มากมายและเป็นแหล่งต้นกำเนิดของปลากุเลาที่ได้ถูกนำมาแปรรูปเป็นปลากุเลาเค็มจนได้รับการขึ้นทะเบียน     สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) โดยสิ่งที่ทำให้ปลากุเลาที่นี่มีรสชาติดีมีเนื้อและรสสัมผัสแตกต่างจากที่อื่น เนื่องจากปลากุเลาที่นี่มีแพลงตอนเป็นอาหารหลัก เมื่อถูกนำมาแปรรูปด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงสามารถสร้างมูลค่าและกลายเป็นราชาแห่งปลาเค็มที่มีมูลค่าสูง และเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในขณะนี้ นอกจากที่กล่าวมาพื้นที่แห่งนี้ยังมีหอยแครงที่มีรสชาติที่ดีที่สุดอีก 1 แห่งของประเทศไทย








เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จากความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำทางธรรมชาติของอำเภอตตากใบ    ถือเป็นความความโดดเด่นที่มีต้นทุนทางประวัติศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แล้ว รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมที่จะผลักดันและส่งเสริมความร่วมมือร่วมกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อสร้างจุดขายในการดึงนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสธรรมชาติที่สวยงามและตื่นตาตื่นใจกับความหลากหลายของอาหารพื้นบ้านด้วย

ขณะที่ผู้แทนชาวบ้านในพื้นที่บ้านเกาะยาว ได้มีการสะท้อนถึงความเดือดร้อนและสภาพปัญหาภายในชุมชน     ทั้งในเรื่องของเส้นทางคมนาคม การเข้าออกของถนนระหว่างฝั่งหาดเสด็จที่จะเข้ามาชุมชนเกาะยาวซึ่งมีปัญหามาอย่างยาวนานเนื่องจากถนนมีสภาพทรุดโทรมทำให้การเดินทางเข้าไปในชุมชนมีความยากลำบากและไม่ปลอดภัยต่อการเดินทาง การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในชุมชนเกาะยาว การช่วยเหลือประชาชนที่ทำอาชีพประมงพื้นบ้านและประสบปัญหาในช่วงฤดูมรสุมทำให้ไม่สามารถออกทะเลไปหาปลาได้ขาดอาชีพขาดรายได้มาจุนเจื้อครอบครัว ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากได้รับการหนุนเสริมจากหน่วยงานภาครัฐมากขึ้นเชื่อว่าการท่องเที่ยวและความเป็นอยู่ของประชาชนตลอดจนเยาวชนในพื้นที่จะดีขึ้นต่อไป
ศูนย์ข่าวใต้สันติสุข







 
เว็บสำเร็จรูป
×